เบื้องหลัง ของ การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2565

การยื่นญัตติขอเปิดการอภิปราย

ส่วนนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565 พรรคเพื่อไทยได้รายงานว่า ชลน่าน ศรีแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่านและผู้นำฝ่ายค้าน พร้อมแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้าน ร่วมกันแถลงในการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ในวันที่ 15 มิถุนายน 2565 โดยใช้ชื่อว่า ‘ยุทธการ เด็ดหัว สอยนั่งร้าน’ เป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคล ต่อมา สุทิน คลังแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม ได้กล่าวถึงรัฐมนตรีที่จะถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ ประกอบด้วย ‘หัวขบวน’ รัฐบาล 1 ราย ส่วน ‘นั่งร้าน’ จะมาจาก 3 พรรคการเมือง คือ พรรคภูมิใจไทย, พรรคประชาธิปัตย์และพรรคพลังประชารัฐ อีก 9 นาย อย่างไรก็ตามจนกว่าจะมีการยื่นญัตติในวันที่ 15 มิถุนายน รายชื่อรัฐมนตรีจะยังไม่มีความแน่นอน[2] โดยประเด็นที่จะนำไปอภิปรายจะอยู่ในกรอบเนื้อหาดังนี้ เนื้อหามุ่งเน้นไปที่ความผิดพลาดล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดินของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา, จงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฏหมาย ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม, การทุจริตต่อหน้าที่ เอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง, ไม่ปฎิบัติตามนโยบายที่ได้แถลงต่อรัฐสภา, การละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน และ การทำลายประชาธิปไตย และระบบรัฐสภา[3] ทางโฆษกรัฐบาล ธนกร วังบุญคงชนะ ได้กล่าวเชิงตอบโต้ว่า "การที่ฝ่ายค้านจะสามารถเด็ดหัวนายกรัฐมนตรี และ ครม. ได้นั้น ไม่แน่ใจว่าฝ่ายค้านไปเอาความมั่นใจมาจากไหน และที่อ้างว่ามีใบเสร็จทางการเมืองที่จะชี้ให้เห็นนั้น ก็เห็นอ้างแบบนี้มาทุกครั้ง แล้วสุดท้ายก็เป็นฝ่ายค้านเองที่ถูกท่านนายกฯ และรัฐมนตรีที่ถูกซักฟอกฉีกหน้ากลางสภาว่ามั่วข้อมูล ทำการบ้านแบบลวก ๆ เหมือนกลัวว่าจะไม่ได้อภิปราย"[4]

ต่อมาในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ชลน่าน ศรีแก้ว ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้านจำนวน 7 พรรค ได้ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลจำนวน 11 คน รวมนายกรัฐมนตรี โดยมีรายละเอียดเรื่องที่จะอภิปรายตามตารางข้างล่าง[5]

รายชื่อรัฐมนตรีที่ถูกอภิปราย[6]
ลำดับที่ชื่อ / ตำแหน่งประเด็นการอภิปราย
1พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา[1]
นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  • ผิดพลาดล้มเหลว
  • ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ประเทศได้
  • ไม่สามารถสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ
  • ไม่สามารถสร้างความอยู่ดีกินดี
  • เป็นต้นตอที่ทำให้ปัญหาที่มีอยู่ซับซ้อนและรุนแรงยิ่งขึ้น
  • ประชาชนในชาติแตกแยก แบ่งฝักแบ่งฝ่าย
  • ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันสูงสุดเป็นประวัติการณ์
  • ความเจริญเติบโตรั้งท้ายของอาเซียน
  • ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต
  • ไร้ภูมิปัญญา ไร้องค์ความรู้ ไร้ความสามารถ ไร้ประสิทธิภาพ และ ไร้จิตสำนึกรับผิดชอบ
  • ขาดภาวะความเป็นผู้นำ
  • เป็นผู้นำที่พิการทางความคิด
  • ยึดติดแต่อำนาจไม่เคารพหลักนิติรัฐและนิติธรรม ไร้คุณธรรมจริยธรรม
  • บริหารราชการแผ่นดิน ล้มเหลวและผิดพลาด บกพร่องเสียหาย อย่างร้ายแรงทุกด้าน
  • ละเลยให้พวกพ้องแสวงหา ผลประโยชน์บนความทุกข์ยาก ของประชาชน
  • ไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
  • เพิกเฉยต่อการทุจริต เอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง
  • ใช้จ่ายงบประมาณโดยมิได้คำนึงถึงวินัยการเงินการคลัง
  • ก่อหนี้เพื่อแสวงหาคะแนนนิยมทางการเมืองโดยไม่สนใจภาระหนี้สาธารณะ
  • ก่อหนี้เพื่อนำมาผลาญโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
  • ไม่ปฏิบัติตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา
  • ไม่ใส่ใจและไม่ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องตามข้อแนะนำของสภา
  • จงใจปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจโดยขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
  • ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
  • ขาดจิตสำนึกในความเป็นประชาธิปไตย ไร้การเคารพซึ่งสิทธิ และเสรีภาพของประชาชน
  • มุ่งใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการปิดปากประชาชน ปิดกั้นเสรีภาพของสื่อมวลชน และละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • ใช้งบประมาณเพื่อการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ที่ไม่จำเป็น
  • ไม่กำกับดูแลการใช้งบประมาณแผ่นดินให้เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ
  • ทำให้ประเทศถอยหลัง เศรษฐกิจของประเทศดิ่งเหว ประชาชนที่ยากจนอยู่แล้วยิ่งยากจน
  • ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจน กับคuรวยขยายวงกว้างมากขึ้น ผู้คนตกงาน บัณฑิตจบใหม่ไม่มีงานทำ
  • ธุรกิจย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น นักลงทุนใหม่เข้ามาลงทุนน้อยลง
  • ปัญหาสังคมทั้งยาเสพติด และอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น
  • ใช้เงินและการต่อรอง ผลประโยชน์เพื่อความอยู่รอดทางการเมืองของตนเอง ทำลายระบบรัฐสภาและหลักการประชาธิปไตย
2อนุทิน ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
  • ไร้คุณธรรมจริยธรรม
  • ไร้จิตสำนึกของการเป็นนักการเมืองที่ดี
  • มีพฤติกรรมทำลายระบบการเมืองด้วยการรู้เห็นเป็นใจ
  • สนับสนุนการใช้เงินและผลประโยชน์เพื่อมุ่งดึง ส.ส. จาก พรรคการเมืองอื่นเข้าสังกัดกลุ่มการเมืองของตนโดยไม่คำนึงถึงหลักการประชาธิปไตยและคุณธรรมทางการเมือง ทำให้ระบบการเมืองถอยหลังไปสู่ยุคการใช้เงินและผลประโยชน์สร้างฐานอำนาจทางการเมือง อันถือเป็นธุรกิจ การเมืองที่ทำลายอุดมการณ์ประชาธิปไตย เปลี่ยนจากระบบคุณธรรมนำการเมืองเป็นใช้เงินและผลประโยชน์นำการเมือง
  • ล้มเหลวผิดพลาดบกพร่องอย่างร้ายแรง
  • ไร้ความรู้ความสามารถในการบริหารราชการของกระทรวงสาธารณสุข
  • มีการใช้งบประมาณแผ่นดินเกินความจำเป็นและไม่เกิดประโยชน์ เกิดความเสียหายแก่งบประมาณของประเทศ
  • มุ่งเอื้อประโยชน์ให้เพื่อนพ้องบริวาร แสวงหาประโยชน์ จากตำแหน่งและหน้าที่ของตน
  • จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
3ศักดิ์สยาม ชิดชอบ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  • ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
  • บริหารราชการแผ่นดินโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของชาติ
  • มีพฤติกรรมใช้อำนาจ ในตำแหน่งหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง
  • ดำเนินนโยบายโดยไม่คำนึงถึงความคุ้มค่าในด้านการใช้จ่ายงบประมาณ
  • มีการใช้งบประมาณจำนวนมากโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและประโยชน์สาธารณะ ทำให้ประเทศสูญเสียโอกาส*และงบประมาณจำนวนมหาศาล
  • ใช้สถานะหรือตำแหน่ง กระทำการโดยทางตรงและทางอ้อม อันเป็นการก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ในกระทรวงคมนาคม เพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง และพรรคการเมืองที่ตนสังกัด
  • ละเว้นไม่ดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดจนเกิดความเสียหายต่อแผ่นดิน
  • ไม่ดูแลให้เกิดการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม
  • มีผลประโยชน์ทับซ้อนและกระทำการขัดกันแห่งผลประโยชน์
  • จงใจปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจ ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายเพื่อให้ตนเองมีส่วนได้รับประโยชน์จากโครงการต่าง ๆ ของรัฐ
  • ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
4สุชาติ ชมกลิ่น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
  • ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
  • มีพฤติการณ์ส่อไปทางทุจริตและประพฤติมิชอบต่อหน้าที่
  • กระทำการอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์
  • ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง
  • จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
  • ปล่อยปละละเลยให้มีการแสวงหาผลประโยชน์จากการนำแรงงาน ต่างด้าวเข้าประเทศ
  • เอื้อประโยชน์ให้เอกชนรายใหญ่ในการใช้ประโยชน์จากแรงงานโดยผิดกฎหมาย
  • ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
5จุติ ไกรฤกษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
  • ล้มเหลว ไร้ความรู้ ความสามารถในการดูแลงานด้านพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • ปล่อยให้ประชาชนขาดไร้ซึ่งที่อยู่อาศัยและค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ ขณะที่การใช้งบประมาณแผ่นดินกลับมุ่งเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองและพวกพ้อง ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชน ตกต่ำ ขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง
6ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  • บริหารราชการแผ่นดินล้มเหลว บกพร่องอย่างร้ายแรง
  • ปล่อยปละละเลยให้เกิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่ทำลายระบบเศรษฐกิจและสร้างความเสียหายต่อประชาชนอย่างกว้างขวางแพร่หลาย และเพิ่มจำนวนมากขึ้นโดยไม่สนใจ และขาดความรู้ความสามารถที่จะป้องกันและปราบปราม สนใจเอาผิดแต่เฉพาะกับกลุ่มบุคคล นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล
  • ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมืองใช้อำนาจในตำแหน่ง หน้าที่เอื้อประโยชน์ให้กับตนเอง บริวาร และพวกพ้อง
  • มีพฤติการณ์ จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
  • มีความประพฤติเสื่อมเสียทางศีลธรรมอันดี
  • ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
7จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • มีพฤติกรรมฉ้อฉล
  • ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
  • รู้เห็นเป็นใจหรือปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตในองค์กรหรือหน่วยงานในกำกับดูแล
  • สร้างความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
  • ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์สำหรับตนเองและพวกพ้อง
  • ไม่ระงับยับยั้ง ละเลยไม่ติดตามแก้ไขปัญหาการทุจริตเพื่อให้มีการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รัฐ
  • ล้มเหลวและไร้ความรู้ความสามารถในการบริหารราชการของกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงในกำกับดูแล
  • ปล่อยให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้นจนกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนและการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน จนส่งผลกระทบต่อประชาชนทุกหย่อมหญ้า
  • จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
  • ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
8สันติ พร้อมพัฒน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
  • มีพฤติกรรมทุจริตต่อหน้าที่
  • ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตและแสวงหาประโยชน์ในหน่วยงาน ที่กำกับดูแล เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน
  • ไม่ดูแลรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
  • จงใจปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม อย่างร้ายแรง
9นิพนธ์ บุญญามณี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • ไร้ความรู้ ความสามารถ ในการบริหารราชการแผ่นดิน
  • มีพฤติการณ์ทุจริตต่อหน้าที่
  • ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
  • จงใจปฏิบัติ หน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
  • ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
  • ปล่อยปละละเลย รู้เห็น สนับสนุนให้มีการทุจริตและแสวงหาผลประโยชน์ภายในหน่วยงานในกำกับดูแล
  • ไม่ดำเนินการตรวจสอบ ระงับ ยับยั้ง และป้องกันการทุจริตจนทำให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
10พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ
รองนายกรัฐมนตรี
  • จงใจไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
  • ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
  • มุ่งสร้างความมั่งคั่งในตำแหน่งหน้าที่
  • รู้เห็นเป็นใจหรือปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตและแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่เกิดกับประเทศ
  • ไร้จิตสำนึกและไร้ความรับผิดชอบต่อตำแหน่งหน้าที่
  • ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แต่กลับทำตนเป็นแบบอย่างของการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต เมื่อพบเห็นการทุจริตกลับปกป้องและไม่ดำเนินการแก้ไข
11พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
  • ขาดซึ่งธรรมมาภิบาล
  • บริหารราชการแผ่นดินผิดพลาดบกพร่องอย่างร้ายแรง
  • ใช้อำนาจหน้าที่ ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
  • ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตของหน่วยงานในกำกับดูแลอย่างกว้างขวาง
  • เมื่อรู้ว่ามีการทุจริตกลับไม่ระงับ ยับยั้ง แต่กลับรู้เห็นยินยอมให้มีการกระทำดังกล่าวจนทำให้ การทุจริตเป็นเรื่องปกติของการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทำให้ระบบราชการและประเทศชาติได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

ก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พรรคเศรษฐกิจไทยได้ถอนตัวจากเป็นพรรคร่วมรัฐบาล และประกาศเป็น “ฝ่ายค้านอิสระ” โดยทางพรรคมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 16 คน ธรรมนัส พรหมเผ่า หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย ให้คำจำกัดความตัวเองว่าเป็น "ฝ่ายค้านอิสระ" เพราะพรรคร่วมฝ่ายค้านยังไม่ได้ตอบรับให้เข้าร่วมกิจกรรมการเมืองอย่างเป็นทางการ[7]

ใกล้เคียง

การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย มีนาคม พ.ศ. 2554 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย สิงหาคม–กันยายน พ.ศ. 2564 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2565 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2552 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2553 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2563 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2555 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2564

แหล่งที่มา

WikiPedia: การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2565 https://thestandard.co/censure-motion-19072022-7/ https://thestandard.co/censure-motion-22072022-15/ https://thestandard.co/censure-motion-22072022-16/ https://thestandard.co/censure-motion-22072022-8/ https://thestandard.co/censure-motion-22072022-9/ https://thestandard.co/distrust-discussion-19-22-j... https://www.bbc.com/thai/thailand-62176164 https://www.bbc.com/thai/thailand-62225618 https://www.bbc.com/thai/thailand-62248613 https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_58...